วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลุกแบรนด์ไทยสู้ AEC 3 กูรู ชูแนวคิดพัฒนาสินค้า/รุก-รับอย่างยั่งยืน


3กูรูแนะผู้ประกอบการไทยสร้างแบรนด์สู้ศึกเออีซีนายกสมาคมการตลาดฯเน้นพัฒนาสินค้าสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืนเครือสหพัฒน์ ติวเข้มด้านข้อมูลศึกษาตลาดตามรอยหน่วยงานรัฐ ก่อนเดินหน้าเต็มสูบด้านแบรนด์บีอิ้งกระตุ้นเอสเอ็มอีไทยเสริมแกร่ง ปั้นแบรนด์รับมือธุรกิจเทศ ตบเท้าบุกไทย  นายอนุวัตรเฉลิมไชยนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแบรนด์ บริษัทเอสซีจีผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจำกัด เปิดเผยว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 เป็นการสร้างฐานตลาดและผู้บริโภคให้ใหญ่ขึ้นจากประชากร 67 ล้านคนจะเพิ่มเป็น600ล้านคนส่วนภาษีสินค้าและบริการจะลดเหลือเกือบ0%จากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟต้า)เปิดโอกาสให้สินค้าและบริการไหลเข้ามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ขณะเดียวกันจะพบว่าคู่แข่งไม่ได้มีแค่อาเซียนแต่ควรมองไปถึงจีน และประเทศอื่นทั่วโลก
          ทั้งนี้การที่ผู้ประกอบการจะตั้งรับการเปิดเออีซีในเวลานี้ถือว่าช้าเกินไปโดยเครือเอสซีจีมีการมองธุรกิจไปสู่ตลาดระดับภูมิภาคหรือรีจินัลตั้งแต่ปี2547โดยนำเสนอสินค้าไปยังผู้บริโภคแต่ละประเทศรวมทั้งขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนมีมูลค่าสินทรัพย์ราว1.8พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือราว5.29หมื่นล้านบาทคิดเป็น14%ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด เช่น การลงทุนในเวียดนาม(RMC)มูลค่า1.15 หมื่นล้านบาทฟิลิปปินส์7.1พันล้านบาทอินโดนีเซีย 2.9หมื่นล้านบาท และพม่า150ล้านบาทโดยการสร้างแบรนด์จะแตกต่างกัน ได้แก่ แบรนด์ตราช้างเจาะตลาดโลคัลหรือในประเทศSCGเจาะตลาดรีจินัล และCOTTO เป็นแบรนด์ระดับโลก
          "เครือเอสซีจีมองตลาดรีจินัลมานานและมุ่งสร้างสินค้ามูลค่าเพิ่มสูงพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้าให้ผู้บริโภคจริงๆและสร้างการรับรู้ไปยังผู้บริโภค เพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับแบรนด์และสินค้า"  นายสันติวิลาสศักดานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้งจำกัด(มหาชน)กล่าวว่า สิ่งที่เป็นห่วงเมื่อเปิดเออีซีคือการลอกเลียนแบบสินค้าไทยแล้วผลิตออกมาจำหน่ายในตลาดอาเซียนด้วยราคาที่ต่ำกว่า บางประเทศอาจผลิตสินค้าชนิดเดียวกันไปจำหน่ายในตลาดก่อนและสร้างผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างมากจึงต้องการให้รัฐบาลแต่ละประเทศร่วมมือกันหามาตรการป้องกันเรื่องดังกล่าวให้ได้รวมทั้งกำหนดมาตรฐานสินค้าให้ชัดเจน
          ขณะเดียวกันเครือสหพัฒน์มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์สินค้าไว้หมดแล้วเพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ทั้งพม่า กัมพูชาโดยเลี่ยงการลงทุนตั้งโรงงานบริเวณชายแดนเพราะกังวลว่าหากฝึกฝนแรงงานจนมีความสามารถและเชี่ยวชาญแล้วจะไหลกลับเข้ามาในประเทศไทย เพราะค่าแรงสูงกว่า
          "ผู้ประกอบการที่สนใจจะบุกตลาดอาเซียนจะต้องรีบทำการบ้านอย่างรวดเร็วเพื่อศึกษาตลาด และพฤติกรรม รสนิยมความต้องการของผู้บริโภคโดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมมีการเดินสายไปยังประเทศต่างๆสามารถตามไปเก็บข้อมูลและดูโอกาสทางการตลาดว่าสินค้าของเราที่นั่นจะขายได้หรือไม่ขณะที่การจะเข้าไปลงทุนก็ต้องศึกษาข้อกฎหมายให้ดีเพราะบางประเทศอย่างพม่ายังไม่มีความชัดเจนเลยทั้งราคาที่ดินการถือครองสิทธิ์การถือหุ้นและร่วมทุนต่างๆ แต่เครือก็มีการส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายหลายรายการอาทิมาม่าซึ่งตั้งโรงงานกว่า10ปีแล้วเครื่องสำอางบีเอสซีก็เติบโตเป็นสิบเท่าตัวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาและภายใน  5ปีคาดว่ายังเติบโตได้อีกเท่าตัว"
          ด้านดร.ศิริกุลเลากัยกุลประธานกรรมการบริหาร บริษัท แบรนด์บีอิ้ง จำกัดกล่าวว่าการที่ผู้ประกอบการไทยจะบุกตลาดเออีซีสิ่งสำคัญคือสินค้าจะต้องมีมาตรฐานเดียวกันเพราะการผลิตจะเป็นหนึ่งเดียวทั้งหมด(OneProductBase)
          สินค้าและบริการต่างๆจะต้องลุกขึ้นมาดูแลแบรนด์ของตัวเองให้แข็งแกร่งเพราะเมื่อตลาดใหญ่และมีโอกาสมากขึ้นแต่คู่แข่งก็จะมีมากขึ้นเช่นกันซึ่งหากผู้ประกอบการรายใดมีแบรนด์สินค้าที่ไม่แข็งแกร่งก็จะถูกบีบให้อยู่ในธุรกิจยากลำบากขณะเดียวกันจะต้องกำหนดว่าจะเป็นแบรนด์ระดับโลกหรือระดับสากล
          ทั้งนี้การเปิดเออีซีมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ2กลุ่มคือผู้รับจ้างผลิต(โออีเอ็ม) โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพและมาตรฐานการผลิตสินค้าบุคลากรมีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ ก็จะได้โอกาสถูกเลือกเป็นพาร์ตเนอร์แบ่งโนว์ฮาวจากแบรนด์ระดับโลกแต่ถ้าสื่อสารไม่รู้เรื่องก็อาจหันไปเลือกผู้ประกอบการเวียดนามแทนและกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีแบรนด์สินค้าของตัวเองก็ต้องเตรียมรับมือกับสินค้าที่จะเข้ามาต้องรักษาฐานตลาดในประเทศให้ได้โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและบริการซึ่งฟิลิปปินส์มีความเชี่ยวชาญมากและจำหน่ายอาหารแบบสากลหากเข้ามาบุกตลาดไทย แบล็คแคนยอน, เอสแอนด์พีต้องเตรียมพร้อมสร้างเอกลักษณ์และมีความเป็นรีจินัลมากขึ้นเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการเปิดเออีซีให้เต็มที่
          "ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่มีแบรนด์หรือไม่หากไม่พัฒนาตัวเองให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปธุรกิจก็จะสูญพันธุ์จะปรับก่อนหรือให้อนาคตมาไล่ตามเพราะเมื่อเปิดเออีซีแบรนด์ไทยไปบุกประเทศเพื่อนบ้านได้แบรนด์อื่นก็เข้ามาทำตลาดในไทยได้ง่ายขึ้นเช่นกันขณะเดียวกันต้องพิจารณาคอนเซ็ปต์หลักว่าเออีซีคือการขายสินค้าที่มีสแตนดาร์ดเดียวกันทุกอย่างคือซิงเกิลมาร์เก็ตต้องแยกความเข้าใจด้านการลงทุน เพราะนักลงทุนที่ไหนก็เข้าไปได้ที่ผ่านมาจะเห็นว่าแบรนด์สินค้าจากต่างประเทศล้วนรอความชัดเจนของกฎหมายก่อนเข้ามาทำตลาดส่วนโลคัล แบรนด์ก็จะต้องกำหนดลูกค้าให้ชัดมากขึ้นว่าจะเจาะโลคัลหรือผลิตสินค้าขายข้ามพื้นที่ได้ เช่น รีจินัลแบรนด์ รีจอยซ์ขายได้ทั้งไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์"
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น