นายภูมิ สาระผล
รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์)
ได้รวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจด้านธุรกิจบริการในประเทศไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2.24 แสนล้านบาท หรือ คิดเป็นสัดส่วน 49% ของภาคเศรษฐกิจไทย(อุตสาหกรรม
43 % และเกษตร 8%) ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงและสำคัญยิ่ง
รวมถึงธุรกิจบริการของไทยถือว่า มีศักยภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
โดยเฉพาะในภาคบริการที่ต้องใช้ความสามารถทางด้านบุคลิกภาพและมิตรภาพความสัมพันธ์ด้านบริการชั้นสูง
รวมถึงธุรกิจบริการของไทยยังมีความได้เปรียบด้านทักษะฝีมือและกำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น บริการสุขภาพ บริการการท่องเที่ยว บริการขนส่งทางอากาศ บริการโรงแรม เป็นต้น “ธุรกิจบริการเป็นภาคเศรษฐกิจหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย
ดังจะเห็นได้จากการประกอบธุรกิจบริการภายในประเทศมีจำนวนผู้ประกอบการมากถึง 81%
ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งประเทศ
ซึ่งจากความสำคัญดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจบริการกลายเป็นธุรกิจที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญ
และเตรียมความพร้อมเพี่อเข้าสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้กลุ่มอาเซียนรวมตัวกันเป็นตลาดการผลิตเดียวกัน
ที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายการค้า สินค้าและบริการ การลงทุน แรงงาน
รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ อย่างเสรี จะมีตลาดการค้าใหญ่ขึ้น” ในขณะเดียวกัน
การแข่งขันท่ามกลางความรุนแรงมากขึ้นประกอบกับโครงสร้างทางธุรกิจของประเทศไทยอยู่บนพื้นฐานของธุรกิจขนาดย่อม
ซึ่งมีอยู่กว่า 98% ของธุรกิจในประเทศ หรือประมาณ 2.8
ล้านราย และเป็นธุรกิจภาคบริการถึง 9.78 แสนราย
ซึ่งธุรกิจบริการมีศักยภาพ และมีโอกาสในการขยายตัวสูง เนื่องจากธุรกิจบริการ
เป็นธุรกิจที่คนไทยมีความได้เปรียบด้านทักษะฝีมือ
และกำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้าน
การเผชิญกับตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีการแข่งขันสูงขึ้น
อาจเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการไทยสามารถผลักดันธุรกิจบริการให้มีศักยภาพในการแข่งขันได้สูงเพียงใด
ภาครัฐได้พยายามผลักดันนโยบายการเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างสมาชิกอาเซียน
โดยรัฐบาลกำลังดำเนินการตั้งคณะทำงานด้านการผลักดันและขับเคลื่อนการค้าในภูมิภาคอาเซียนและการค้าชายแดนที่จะดูแลการส่งเสริมการส่งออกในตลาดอาเซียนและการค้าชายแดน
พร้อมผลักดันการลงทุนในด้านการผลิตตามชายแดนและประเทศเพื่อนบ้านที่มีการส่งเสริมการลงทุนให้
อีกทั้งได้ทำการตกลงตามกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน ซึ่งภาครัฐมีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการไทยโดยสนับสนุนกลไกลตลาดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาบริการที่มีความเชื่อมโยงกับภาคการผลิต การสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อการแข่งขัน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างโอกาสการเติบโตจากภายนอก โดยอาศัยความร่วมมือและการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะสาขาที่ต้องใช้เงินทุนและเทคโนโลยีขั้นสูง
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวเสริมว่า กรมส่งเสริมการส่งออกจะเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงนโยบายภาครัฐ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน โดยพัฒนาโลจิสติกส์เพื่อการส่งออก เช่น โครงการจัดคณะผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไปเจรจาการค้าในต่างประเทศ (B2B matching LSP) , การพัฒนาธุรกิจบริการ เช่น โครงการคณะผู้แทนการค้าธุรกิจซอฟต์แวร์เยือนอาเซียน (เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์) โครงการ Thailand Education Mission โครงการจัดคณะผู้แทนการค้าคลัสเตอร์ธุรกิจสปาไทยสู่ตลาดอาเซียน+6 โครงการจัดคณะผู้แทนการค้าธุรกิจ Healthcare & Wellness Industry สู่ตลาดอาเซียน (ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย) , จัด Thailand Exhibition และพัฒนาขีดความสามารถผู้ส่งออก
โดยล่าสุด จัดสัมมนาเรื่อง “ธุรกิจบริการของไทยภายใต้ AEC : โอกาสและความท้าทายโดยได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) มาบรรยาย ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความรู้ถึงโอกาสและความท้าทาย รวมถึงแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการของไทย และยังมีแผนที่จะสัมมนาช่องทางการขยายตลาดสินค้าอาหารให้ภูมิภาคอาเซียน , สัมมนาโอกาสและลู่ทางการค้าสินค้า ไลฟ์สไตล์ตลาด AEC อีกด้วย
ที่มา: มติชนออนไลน์
อีกทั้งได้ทำการตกลงตามกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน ซึ่งภาครัฐมีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการไทยโดยสนับสนุนกลไกลตลาดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาบริการที่มีความเชื่อมโยงกับภาคการผลิต การสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อการแข่งขัน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างโอกาสการเติบโตจากภายนอก โดยอาศัยความร่วมมือและการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะสาขาที่ต้องใช้เงินทุนและเทคโนโลยีขั้นสูง
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวเสริมว่า กรมส่งเสริมการส่งออกจะเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงนโยบายภาครัฐ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน โดยพัฒนาโลจิสติกส์เพื่อการส่งออก เช่น โครงการจัดคณะผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไปเจรจาการค้าในต่างประเทศ (B2B matching LSP) , การพัฒนาธุรกิจบริการ เช่น โครงการคณะผู้แทนการค้าธุรกิจซอฟต์แวร์เยือนอาเซียน (เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์) โครงการ Thailand Education Mission โครงการจัดคณะผู้แทนการค้าคลัสเตอร์ธุรกิจสปาไทยสู่ตลาดอาเซียน+6 โครงการจัดคณะผู้แทนการค้าธุรกิจ Healthcare & Wellness Industry สู่ตลาดอาเซียน (ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย) , จัด Thailand Exhibition และพัฒนาขีดความสามารถผู้ส่งออก
โดยล่าสุด จัดสัมมนาเรื่อง “ธุรกิจบริการของไทยภายใต้ AEC : โอกาสและความท้าทายโดยได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) มาบรรยาย ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความรู้ถึงโอกาสและความท้าทาย รวมถึงแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการของไทย และยังมีแผนที่จะสัมมนาช่องทางการขยายตลาดสินค้าอาหารให้ภูมิภาคอาเซียน , สัมมนาโอกาสและลู่ทางการค้าสินค้า ไลฟ์สไตล์ตลาด AEC อีกด้วย
ที่มา: มติชนออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น