รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ได้รับเกียรติจากกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม ร่วมดำเนินการวิจัยและพัฒนา
โครงการวิจัยและพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสังเคราะห์ด้วยกระบวนการไฮโดรโพรเซสซิ่ง
นับว่าเป็นก้าวแรกของทั้งสองหน่วยงาน
ที่ประสานความร่วมมือกันโดยได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เมื่อวันที่ 11
พ.ย.53
ที่ผ่านมา
ทั้งนี้
โครงการดังกล่าว นอกจากเป็นความร่วมมือของสองหน่วยงานหลักแล้ว
ยังเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจาก 3 คณะวิชา ประกอบด้วย ผศ.ดร.ผกาวดี แก้วกันเนตร
รศ.ดร.พรเทพ ถนนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี และ รศ.ดร.ธนากร วงศ์วัฒนเสถียร
รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.เฉลิม
เรืองวิริยะชัย จากคณะวิทยาศาสตร์ และด้านกองทัพอากาศ คณะนักวิจัยนำโดยนาวาอากาศโท
อมรพงศ์ เอี่ยมสะอาด หัวหน้าแผนกวิจัยและตรวจทดลอง กองวิทยาการ กรมช่างอากาศ
โดยจะร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสังเคราะห์ด้วยกระบวนการไฮโดรโพรเซสซิ่ง
เพื่อใช้สำหรับอากาศยานให้กับกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 2 ปี ซึ่งรายละเอียดของโครงการจะเป็นการศึกษาการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสังเคราะห์จากน้ำมันปาล์มโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีร่วมกับแก๊สไฮโดรเจน
ภายใต้อุณหภูมิและความดันที่เหมาะสมผ่านการพัฒนาระบบการผลิตต้นแบบขนาด 50 ลิตร/รอบการทำงาน
และเมื่อการดำเนินการวิจัยประสบความสำเร็จแล้ว
มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะดำเนินการส่งมอบระบบการผลิตฯ ดังกล่าวให้ทางกองทัพอากาศต่อไป
ไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนของกองทัพอากาศต่อไป
โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 2 ปี เชื่อว่าโครงการวิจัยดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนภายในประเทศ
และเป็นการสนับสนุนโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริ
ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากอุตสาหกรรมเกษตรภายในประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
พลอากาศตรีบุญสืบ ประสิทธิ์
รองเจ้ากรมช่างอากาศ กองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม กล่าวว่า
กองทัพอากาศมีหน้าที่หลักในการเตรียมกำลังกองทัพอากาศเพื่อการป้องกันราชอาณาจักร
โดยมีภารกิจที่ได้รับมอบหมายในการบริหารราชการทุกส่วนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ทั้งนี้พบว่ายุทธศาสตร์ของชาติในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม
ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสายงานการวิจัย
เพื่อให้นักวิจัยมีระบบความก้าวหน้าในวิชาชีพ พัฒนาแหล่งงานด้านการวิจัย
นอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
ตลอดจนสถาบันการศึกษาขั้นสูง เพื่อพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดังนั้น
จึงนำมาสู่ยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศด้านการวิจัยและพัฒนา
ซึ่งมีนโยบายที่จะส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนายุทโธปกรณ์ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมสนับสนุนภารกิจหลักของกองทัพอากาศ
ได้แก่พลังงานทดแทนด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์
โดยเน้นการสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานภายนอกที่มีศักยภาพ
โดยเฉพาะการวิจัยร่วม การถ่ายทอดเทคโนโลยี
และการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อกองทัพอากาศ จึงเป็นที่มาของการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงแห่งชาติระหว่างกองทัพอากาศและมหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสังเคราะห์ด้วยกระบวนการไฮโดรโพรเซสซิ่งนั้น
เป็นโครงการวิจัยที่จะทำให้ได้มาซึ่งพลังงานทดแทนสำหรับอากาศยาน
เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานสังเคราะห์เพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงอากาศยานชนิด
JET A-1 และ JP-8
ขึ้นในประเทศ
เพื่อความมั่นคงทางทหารและความมั่นคงทางพลังงานของชาติอย่างยั่งยืนในอนาคต
เหตุผลของการคิดค้นเพื่อหาพลังงานทดแทนให้อากาศยานก็เช่นเดียวกับพลังงานทดแทนด้านอื่น
นั่นคือ ปัญหาจากวิกฤตการณ์ด้านการขาดแคลนพลังงาน
หรือการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับอากาศยาน
จึงทำให้มีการตระหนักถึงปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ได้มีการจัดตั้งองค์กรต่างๆ เพื่อศึกษาค้นคว้าหาพลังงานทดแทนที่มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้งานกับอากาศยาน
โดยพลังงานทดแทนที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานนั้นจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะที่เหมาะสม
ได้แก่ ค่าพลังงาน จุดเยือกแข็ง มีความปลอดภัยทางการบิน
ปริมาณที่ผลิตได้มีมากพอกับความต้องการ โดยมีเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมและต้นทุนการผลิตที่ยอมรับได้
โดยเทคโนโลยีสำหรับใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์สำหรับอากาศยานนั้น
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาแล้วในหลายประเทศ
รวมทั้งมีการทดสอบการนำไปใช้งานกับสายการบินต่างๆ และสำหรับประเทศไทย
โครงการวิจัยและพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสังเคราะห์ด้วยกระบวนการไฮโดรโพรเซสซิ่งครั้งนี้
ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพลังงานทดแทนด้านอื่นๆ
พลอากาศตรีบุญสืบ กล่าวอีกว่า
มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนจากพืชน้ำมันชนิดต่างๆ
และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการผลิตเชื้อเพลิงเป็นพลังงานทดแทน
โดยเฉพาะด้านไบโอดีเซล
ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสกัดจากสาหร่าย
ซึ่งเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจเพื่อการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์อากาศยานด้วยเช่นกัน
การที่กองทัพอากาศได้มีโอกาสประสานความร่วมมือในโครงการวิจัยครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งในการที่จะได้รับองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพทั้งบุคลากร
อุปกรณ์และเครื่องมือ รวมถึงสถานที่ที่เหมาะสม
องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้จะนำไปสู่การพัฒนา
ปรับปรุงยุทโธปกรณ์ของกองทัพให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งสร้างนวัตกรรมของกำลังทางอากาศเพื่อความมั่นคงทางทหารและพลังงานของชาติต่อไป
ที่มา
: บ้านเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น